Blood Products & Blood Componant
โลหิตที่ได้จากการบริจาคนั้น สามารถนำมาแยกเป็นส่วนประกอบของโลหิตได้หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นมีข้อบ่งชี้ในการใช้ วิธีการเก็บรักษา ความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือข้อควรระวังในการใช้ที่แตกต่างกัน เพื่อให้การใช้โลหิตเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมจึงได้นำเสนอรายละเอียดของส่วนประกอบโลหิต โดยอ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือ "การใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตอย่างเหมาะสม The Apprcpriace use of Blood and Blood components" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2554 บทที่ 3 เรื่อง "โลหิตและส่วนประกอบโลหิต Blood and Blood Components" เขียนโดย นาวาโทหญิง แพทย์หญิงอุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
โลหิตรวมหรือโลหิตครบส่วน Whole bood (CPD-Adenine-1)(WB) คือ โลหิตที่เจาะเก็บจากผู้บริจาคในถุงเก็บโลหิตที่มีสารป้องกันโลหิตแข็งตัวชนิด CPD และสารช่วยรักษาคุณภาพโลหิตคือ adenine-1 อยู่ด้วยและยังไม่ได้แยกออกเป็นส่วนประกอบชนิดต่างๆ การบริจาค 1 ครั้งคือ 1 ถุง หรือ 1 ยูนิตประกอบด้วย
ความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อได้แก่
การเก็บรักษาในธนาคารเลือด
ข้อบ่งชี้การใช้
ข้อห้ามการใช้
วิธีการให้
ปัจจุบันงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์จึงมีการแยก WB ออกเป็นส่วนประกอบโลหิต เพื่อใช้ตามข้อบ่งชี้ซึ่งมีประโยชน์แก่ผู้ป่วย ทำให้โลหิตแต่ละยูนิตได้ใช้ประโยชน์สูงสุด จึงมีการผลิต จ่าย และใช้ WB น้อยลง ได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีคุณภาพโดยเน้นที่ความปลอดภัยของผู้ป่วย ได้อย่างเป็นมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองดังนี้
1)เม็ดเลือดแดงอัดแน่น Red blood cell concentrate (RBC) เดิมเรียก packed red cells
เป็นส่วนประกอบโลหิตหลังการปั่นให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอนอัดแน่นก้นถุง และบีบพลาสมาส่วนบนบางส่วนออกไปแล้ว 1 ยูนิต ประกอบด้วยเม็ดเลือดแดงอัดแน่นปริมาตรประมาณ 150-200 มล. มีพลาสมาเหลือน้อย มีปริมาณฮีโมโกลบินไม่น้อยกว่า 45 ก.ต่อยูนิต (สำหรับโลหิตที่เจาะเก็บปริมาตร 450 มล.) และไม่น้อยกว่า 35 ก.ต่อยูนิต(สำหรับโลหิตที่เจาะเก็บปริมาตร 350 มล.) ฮีมาโตคริตไม่เกิน 80 %
ข้อบ่งชี้ในการใช้
เม็ดเลือดแดงในสารช่วยรักษาคุณภาพโลหิต Red cell suspension, Red cell in additive solutionคือส่วนประกอบโลหิตหลังการปั่นให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอนก้นถุงและบีบพลาสมาส่วนบนออกไปแล้ว และเติมสารเพื่อรักษาคุณภาพเพื่อยืดอายุการใช้งาน สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 42 วัน 1 ยูนิตประกอบด้วย
เม็ดเลือดแดงปริมาตรประมาณ 150-200 มล. มีพลาสมาเหลือน้อยพร้อมสาร suspension ประมาณ 100 มล. ได้แก่ normal saline, adenine, glucose, mannitol solution (SAG-M) เป็นต้น ฮีโมโกลบินประมาณ 15 ก./ดล. แต่ต้องไม่น้อยกว่า 45 ก. ต่อยูนิต ฮีมาโตคริต50% - 70%
ข้อห้ามการใช้ ถ้า additive solution ที่เติมไว้มีส่วนประกอบของน้ำตาล เช่น dextrose ในปริมาณสูง ไม่ควรใช้ exchange transfusion ในเด็กแรกเกิด
2)พลาสมาสดแช่แข็ง Fresh frozen plasma (FFP)
เป็นส่วนประกอบโลหิตมีเฉพาะพลาสมาที่ได้จากการปั่นแยก WB 1 ถุง หลังการเจาะเก็บไม่เกิน 8 ชม. แล้วแช่แข็งทันทีที่ความเย็น -20°ซ. หรือต่ำกว่า ประกอบด้วย โปรตีนที่เป็นปัจจัยในการแข็งตัวของโลหิตทุกตัว รวมทั้งสารอัลบูมินและอิมมูโนโกลบุลิน (albumin, immunoglobulin) มีระดับ factor VIII ประมาณร้อยละ 70 ของ normal fresh plasma level ปริมาตรประมาณ 200-300 มล.
การเก็บรักษา มาตรฐาน AABB เก็บที่ ≤-18°ซ. ได้นาน 1 ปี / WHO เก็บที่ ≤-25°ซ. ได้นาน 1 ปี
ข้อบ่งชี้ในการใช้
ข้อควรระวัง
ปริมาณการให้ ขนาดการรักษา 15 มล./กก. เท่ากับ 1 therapeutic dose ในการให้ FFP แต่ละครั้ง
วิธีการให้
หมายเหตุ พลาสมาที่แยกออกจากโลหิตรวมหลังการเจาะเก็บนานกว่า 8 ชั่วโมงจะมีปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดบางตัวลดลง เช่น factor V และ VIII
3) เม็ดเลือดแดงเข้มข้นลดจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วยการปั่น Leukocyte-poor red cell (LPRC)
เป็นส่วนประกอบโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดงที่ขจัดเม็ดเลือดขาวออกไป ด้วยวิธีการปั้น (leudocyte removed by centrifugation) โดยจำนวนเม็ดเลือดขาวที่เหลืออยู่ต้องน้อยกว่า 1.2×109 เซลล์ต่อยูนิต และมีฮีโมโกลบินไม่น้อยกว่า 40 ก.ต่อยูนิต ฮีมาโตคริต 50-70% ความเสียงต่อโรคติดเชื้อ, การเก็บรักษา, วิธีการให้ เช่นเดียวกับ RBC
ข้อบ่งชี้ในการใช้ เช่นเดียวกับ RBC ป้องกัน FNHTR ในผู้ป่วยที่เคยมีอาการไข้หนาวสั่นหลังรับโลหิต
4) เม็ดเลือดแดงที่ลดจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วยการกรอง Leukocyte-depleted Red Cell (LD-RBC)
เป็นส่วนประกอบโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดงที่ขจัดเม็ดเลือดขาวออกไปด้วยวิธีการกรอง (leukocyte filtration) โดยจำนวนเม็ดเลือดขาวที่เหลืออยู่ต้องน้อยกว่า 5.0 × 106 เซลล์ต่อยูนิต ตามมาตรฐานสหรัฐอเมริกา หรือ 1.0 × 106 เซลล์ต่อยูนิต ตามมาตรฐานยุโรป มีฮีโมโกลบิน ไม่น้อยกว่า 40 ก.ต่อยูนิต หรือ ฮีมาโตคริตไม่เกิน 80%ในกรณีที่ไม่ใส่สาร additive solution ความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ เช่นเดียวกับ RBC แต่ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ CMV จากการรับโลหิตการเก็บรักษาและข้อบ่งขี้ เช่นเดียวกับ RBC โดยการใช้ LPRC จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับโลหิตเป็นประจำและมีปฏิกิริยาต่อการรับเม็ดเลือดขาว จึงจำเป็นต้องลดจำนวนเม็ดเลือดขาวในโลหิตที่ให้ และจะได้ผลดีต่อเมื่อใช้ leukocyte depleted blood ทุกยูนิต และส่วนประกอบโลหิตทุกชนิด ป้องกัน febrile non hemolytic transfusion reaction (FNHTR) ในผู้ป่วยที่เคยมีอาการไข้หนาวสั่นจากการรับโลหิต
หมายเหตุ ไม่ช่วยป้องกันภาวะ graft versus host disease (GVHD) การป้องกัน GVHD ต้องทำการยับยั้งการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte ด้วยการฉายรังสีแกมมาที่ 25-30 Gy
5)Leukocyte Poor Pooled Platelets Concentrate, LPPC)
เป็นเกล็ดเลือดที่ได้จากการรวม buffy coat ของผู้บริจาคหมู่เดียวกันจำนวน 4-6 ยูนิต โดยมีพลาสมาหรือสารละลายที่ใช้เก็บรักษาเกล็ดเลือด 1 ยูนิต เป็นสารช่วยในการ pool แล้วนำมาปั่นแยกด้วยรอบการปั่นเบา แล้วเอาแต่เฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมา ซึ่งมีเกล็ดเลือดอยู่ออก ส่วนที่ขจัดทิ้งไปคือเม็ดเลือดขาว LPPC 1 ยูนิต จะมีเกล็ดเลือดมากกว่า 2.4 ×1011 เซลล์/ยูนิต มีปริมาณเม็ดเลือดขาวไม่เกิน 5×108 เซลล์/ยูนิต เก็บรักษาในอุณหภูมิ 20-24°ซ.โดยการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา ขนส่งในอุณหภูมิ 20-24°ซ.
วิธีการให้ การให้ LPPC 1 ยูนิต จะประมาณ 1 adult therapeutic dose ใช้ชุดให้โลหิตมาตรฐานและควรเปลี่ยนชุดให้โลหิตทุกๆ LPPC 1 ยูนิต
6)เกล็ดเลือดที่เตรียมด้วยวิธี plateletpheresis (Single donor Platelet, SDP)
เป็นเกล็ดเลือดจากผู้บริจาคคนเดียวที่ได้จากการเจาะเก็บด้วยวิธี plateletpheresis ด้วยเครื่อง blood cell separator ซึ่งสามารถแยกเก็บเฉพาะเกล็ดเลือดอย่างเดียว มีส่วนประกอบดังนี้
การเก็บรักษา เก็บที่ตู้เกล็ดเลือดอุณหภูมิ 20-24°ซ. เขย่าตลอดเวลา มีอายุประมาณ 3-5 วัน (หรือตามที่ระบุในแต่ละผลิตภัณฑ์) ห้ามเก็บในตู้ 2 - 6°ซ.
ความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางการรับโลหิตเช่นเดียวกับการรับส่วนประกอบโลหิตชนิดอื่นๆ แต่จะมี donor exposure น้อยกว่า
ปริมาณการให้ SDP 1ถุง ที่มีจำนวนเกล็ดเลือดตามเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น เท่ากับ 1 adult therapeutic dose
วิธีการให้ เช่นเดียวกับ PC แต่การให้ตรงหมู่ ABO มีความสำคัญมาก เพราะ plateletpheresis มีพลาสมามาก anti-A และ/หรือ anti-B ในพลาสมาอาจทำให้เกิด hemolysis ในผู้ป่วยที่รับโลหิตได้
7)ไครโอปรีซิปิเตท, Cryoprecipitate (Cryo)
เป็นตะกอนโปรตีนที่เกิดจากการนำ FFP มาละลายที่ 4° ซ.แล้วบีบแยกส่วนพลาสมาเหนือตะกอนออกไปเป็น CRP ใน cryo 1 ถุงจะมี fibrinogen ประมาณ 150-300 มก./ยูนิต และ factor VIII ประมาณ 80-100 IU/ยูนิต อยู่ในพลาสมาประมาณ 10-20 มล.ความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับ WB
การเก็บรักษา AABB เก็บที่ ≤-18 °ซ.ได้นาน 1 ปี / WHO เก็บที่ ≤-25° ซ.ได้นาน 1 ปี
ข้อบ่งชี้ในการใช้
วิธีการให้ ก่อนให้ต้องละลายที่ 37 °ซ.แล้ว pool รวมกันด้วยวิธีปราศจากเชื้อ โดยใช้ normal saline ช่วยละลายและ pool จำนวนถุงที่นำมา pool จะคำนวณตามปริมาณ factor VIII ที่ต้องการให้แก่ผู้ป่วย ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกหมู่ ABO (all ABO groups are acceptable) ไม่ต้องทำ compatibility test ก่อนให้ โดยหลังละลายแล้วให้ผู้ป่วยทันที หรือภายในไม่เกิน 6 ชม. โดยใช้ชุดให้โลหิตเช่นเดียวกับ WB หรือ RBC
8)พลาสมาที่แยกไครโอปรีซิปิเตทออกแล้ว, Cryo-removed plasma (CRP)
เป็นพลาสมาที่เหลือจากการแยกตะกอนโปรตีน Cryoprecipitate ออกไปแล้วจึงเหลือ factor VIII และ fibrinogen เพียงบางส่วนของเริ่มต้น แต่ยังคงมีปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดและส่วนประกอบอื่นๆอยู่
ความเสี่งต่อโรคติดเชื้อ, การเก็บรักษา, ขนาดและวิธีการ เช่นเดียวกับ FFP
ข้อบ่งชี้ในการใช้
**ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆที่งานธนาคารเลือด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ มีบริการดังที่กล่าวมาแล้ว
.........................................................................................................................................................
เรียบเรียงโดย ดร.ทนพญ.ณิชชา ไพรัตน์ **