วิจัยและนวัตกรรม
Research and Innovation
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน National Ethics Committee Accreditation System of Thailand: NECAST

ขอแสดงความยินดีกับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (The Human Research Ethics Committee of  Thammasat  University Hospital : HREC-TUH) ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน National Ethics Committee Accreditation System of Thailand: NECAST

 

          ศ.นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รศ.นพ.จักรชัย จึงธีรพานิช ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ รับมอบโล่และใบประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ จากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand : NECAST) จากนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567" ในวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

 

         ด้วยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ จากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (NECAST ระดับ 3) โดย NECAST ระดับ 3 คือ การรับรองคุณภาพสำหรับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่พิจารณาโครงการวิจัยทุกประเภท รวมถึงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนยาและเครื่องมือแพทย์ และการวิจัยที่อาจเกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างทุกประเภท

 

Surveying and Evaluating Ethical Review Practices

       จากการรับมอบโล่และใบประกาศนียบัตร NECAST ระดับ 3 ถือว่าใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จากวันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2567 ที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานระบบคุณภาพจากคณะกรรมการ The strategic Initiative for Development Capacity in Ethical Review (SIDCER) ร่วมกับ Forum for Ethical Review Committees in Asia and Western Pacific (FERCAP) ซึ่งอยู่ภายใต้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และ National Ethics Accreditation System in Thailand (NECAST) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อประเมินรับรองคุณภาพจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ระดับนานาชาติ ระดับ 3 ตามมาตรฐานสากลของ SIDCER – FERCAP

 

ทำไมต้องขอรับรองจาก SIDCER – FERCAP

  • เพื่อให้ผู้วิจัยมั่นใจได้ว่าในการพิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มีความน่าเชื่อถือในระดับชาติและนานาชาติ  เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยที่ดี
  • เพื่อเป็นประโยชน์และความเชื่อถือสำหรับผู้วิจัย ผลงานวิจัยที่จะตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ เนื่องด้วยสถานที่หรือสถาบันการทำวิจัยนั้นจะต้องได้รับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระดับสากล
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมวิจัยและผู้วิจัยมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับการคุ้มครองสิทธิของท่านตามการคุ้มครองสิทธิเทียบเท่ามาตรฐานสากล

 

Next Move

     ขอส่งกำลังใจและแสดงความยินดีกับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ที่จะเดินทางไปรับโล่และใบประกาศนียบัตร SIDCER – FERCAP ในงาน 24th FERCAP International Conference ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ในวันที่ 24 - 27 พฤศจิกายน 2567 

แชร์ส่งให้เพื่อน
Copyright © 2024-2025 All rights reserved.
ทั้งหมด
24546
ออนไลน์
2